9.13.2553

Element of Design*~

วันพฤหัสบดี ที่ 9 กันยายน 2553
องค์ประกอบการออกแบบ
Element of Design
หลักการของสี
วงจรสี คือ การแบ่งสีตามหลักการในระบบสี
Primary สีขั้นต้น : น้ำเงิน เหลือง แดง ( แม่สี )
Secondary สีขั้นที่สอง : ม่วง เขียว ส้มTertiary สีขั้นที่สาม :


Hue
เนื้อสี หรือ Hue คือความแตกต่างของสีบริสุทธิ์แต่ละสี ซึ่งเราจะเรียกเป็นชื่อสี เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีม่วง เป็นต้น โดยแบ่งเนื้อสีออกเป็น 2 ชนิด
1. สีของแสง (Coloured Light)
สีของแสง คือความแตกต่างสั้นยาวของคลื่นแสงที่เรามองเห็น เริ่มจ
ากสีม่วงไปสีแดง (เหมือนรุ่งกินน้ำที่เรามองเห็นหลังฝนตก)
2. สีของสาร (Coloured Pigment)
สีของสาร คือสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการดูดซืมและสะท้อนของความยาวคลื่นแสง จากการที่เรามองเห็นสีของสารต่างๆนี่เอง จึงค้นพบว่ามีสีอยู่ 3 สี ที่เป็นต้นกำเนิด
ของสีอื่นๆที่ไม่สามารถสร้างหรือผสมให้เกิดจากสีอื่นได้หรือเรียกว่า "แม่สี" ได้แก่ แดง,เหลือง,น้ำเงิน

Saturation เป็นเรื่องของความเข้มข้นและความจางของสี Saturation คือสัดส่วนของสี Hue ที่มีอยู่ในสีเทา วัดค่าเป็น % ดังนี้ คือจาก 0% (สีเทา) จนถึง 100% (full saturation สีที่มีความอิ่มตัวเต็มที่)

Value น้ำหนักสี หมายถึง น้ำหนักอ่อนแก่เฉพาะตัวของสี อาจจะ ใกล้เคียงกัน เหมือนกัน หรือ ต่างกัน น้ำหนักอ่อนแก่เฉพาะตัวนี้เรียกว่า น้ำหนักปกติ (normal) โดยเปรียบเทียบกับน้ำหนัก ขาว–ดำ

RGB และ CMYK คืออะไร

เมื่อทำงานเกี่ยวกับการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ มักจะเจอคำว่า RGB และ CMYK แต่ความหมายของมันคืออะไรกันนะ

RGB และ CMYK ก็คือระบบการแทนค่าสีที่ใช้ในงานกราฟิก แบ่งเป็น 2 โหมด คือ RGB แลCMYK ซึ่งเหมาะกับงานคนละประเภทกัน

RGB มีแนวคิดมาจากการผสมแสงสีหลัก 3 สีเข้าด้วยกัน คือ แดง (RED) เขีย(GREEN) และน้ำเงิน (BLUE) ซึ่งเมื่อผสมกันจะทำให้เกิดสีจำนวนมากและเมื่อนำมารวมกันที่ความเข้มสูงสุด จะได้สีขาว ส่วนใหญ่การใช้สีลักษณะนี้จะใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่นจอภาพ กล้องดิจิตอล เป็นต้น

CMYK มีแนวคิดมาจากระบบการพิมพ์ โดยภาพจะถูกแยกออกเป็นแม่พิมพ์ของสีหลักเพียง 4 สี คือ ฟ้า (CYAN) ม่วงแดง (MAGENTA) เหลือง (YELLOW) ดำ (BLACK) ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วจะได้สีดำ

การแต่งตัว
หลักการเลือกสี
Color Combination

1. Monochromatic
คือการใช้สีเดียว เพื่อสร้างความแตกต่าง ด้วยระดับความมืด-สว่างของสี
2. Triads
คือการใช้สี 3 สีที่อยู่ตรงข้ามกัน ควรทดลองใช้หลายรูปแบบ เพื่อสร้างความแตกต่าง
3. Analogous
คือการใช้สีที่อยู๋ติดกันใกล้เคียงกัน โดยเืลือกจากสีที่อยู๋ถัดไป 2-3 สีสามารถสร้างความกลมกลืนได้ดี
4. Complementary
คือการใช้สีตรงข้ามกัน สามารถช่วยเน้นความโดดเด่นได้ดี การใช้สีดำหรือเทา เพื่อลดความรุนแรงของสี นอกจากนั้นการใช้สี 2 สีที่แตกต่างกันมาก จะทำให้มีความสำคัญเท่ากันดังนั้นจึงควรลดความเข้มของสีหนึ่งลง
5. Split-Complements
คือการใช้สีผสม เป็นการผสมผสานระหว่างสีโทนร้อนและเย็น โดยเริ่มจากการเลือกสีใดสีหนึ่งและจับคู่กับอีก 2 สี ในโทนสีตรงข้ามกัน

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

แสดงความคิดเห็น